หัวข้อ   “ ประเมินผลงาน 3 เดือน คสช. ”
ประชาชนให้คะแนน การบริหารงานของ คสช. 6.9 เต็ม 10 คะแนน
โดยได้คะแนนด้านความมั่นคงของประเทศ สูงสุด 7.69 คะแนน
92.4 % ชื่นชอบนโยบายการปราบปรามยาเสพติด และอาวุธสงครามมาก
 
 
 
ดีมาก (5)
ดี (4)
ปานกลาง (3)
พอใช้ (2)
แย่ (1)
 
 
                 เนื่องด้วยวันที่ 22 สิงหาคมที่ผ่านมา คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.)
ได้บริหารประเทศมาครบ 3 เดือน ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์)
จึงได้ดำเนินการสำรวจความคิดเห็นของประชาชนเรื่อง “ประเมินผลงาน 3 เดือน คสช.”
โดยเก็บข้อมูลจากประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไป จำนวน 1,259 คน จากทุกภูมิภาค
ทั่วประเทศ พบว่า
 
                  ประชาชนให้คะแนนความพึงพอใจในการบริหารงานของ
คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา
เฉลี่ย 6.90 คะแนน จากคะแนนเต็ม 10 คะแนน
โดยมีรายละเอียดในแต่ละด้าน
ที่ทำการประเมิน ดังนี้
 
 
 
              
ด้านความมั่นคงของประเทศ
7.69
คะแนน
ด้านการบริหารจัดการและการบังคับใช้กฎหมาย
7.44
คะแนน
ด้านสังคมและคุณภาพชีวิต
7.00
คะแนน
ด้านเศรษฐกิจ
6.34
คะแนน
ด้านการต่างประเทศ
6.00
คะแนน
เฉลี่ย
6.90
คะแนน
 
                  ทั้งนี้ เมื่อเปรียบเทียบกับความพึงพอใจการทำงานของรัฐบาล ในสมัยของนายกฯ ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร และ
นายกฯ อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เมื่อตอนบริหารประเทศครบ 2 ปี พบว่า รัฐบาลนายกฯ ยิ่งลักษณ์ ได้คะแนนเพียง 4.49 คะแนน
(ส.ค.56) ส่วนนายกฯ อภิสิทธิ์ ได้คะแนนเพียง 3.82 คะแนน (ธ.ค.53) เท่านั้น และเมื่อเปรียบเทียบในแต่ละด้านที่ทำการ
ประเมินพบว่าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ได้คะแนนความพึงพอใจในการทำงานมากกว่ารัฐบาลของอดีต
นายกรัฐมนตรี ทั้ง 2 ท่าน ในทุกๆด้าน
 
                  ส่วนระดับความชื่นชอบที่มีต่อโครงการหรือมาตรการต่างๆ ของ คสช. ในรอบ 3 เดือนที่ผ่านมา
ประชาชนระบุว่า การปราบปรามยาเสพติดและอาวุธสงคราม เป็นนโยบายที่ชื่นชอบมาก คิดเป็นร้อยละ 92.4

รองลงมาคือนโยบายการปราบปรามการค้ามนุษย์ คิดเป็นร้อยละ 88.6 และนโยบายการจ่ายเงินคืนโครงการรับจำนำข้าว
ให้ชาวนา คิดเป็นร้อยละ 85.2 เป็นต้น ส่วนโครงการ/มาตรการที่ประชาชนชื่นชอบน้อยที่สุดเมื่อเปรียบเทียบกับโครงการอื่นๆ
ที่ทำการประเมินคือ การดูแลเรื่องการขายลอตเตอรี่เกินราคา
 
 
                 ดังรายละเอียดในตารางต่อไปนี้
 
             1. คะแนนความพึงพอใจ ที่มีต่อการบริหารประเทศภายใต้การนำของ คสช. ในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา
                 พบว่า ได้คะแนนเฉลี่ย 6.90 คะแนนจากคะแนนเต็ม 10 คะแนน


ด้านที่ทำการประเมินความพึงพอใจ
คะแนนความพึงพอใจ (เต็ม10 คะแนน)
ครบ 3 เดือน
คสช.
(ส.ค.57)


ครบ 2 ปี รัฐบาล
นายกฯ
ยิ่งลักษณ์
(ส.ค. 56)
ครบ 2 ปี รัฐบาล
นายกฯ
อภิสิทธิ์
(ธ.ค. 53)
ด้านความมั่นคงของประเทศ
7.69
4.55
3.74
ด้านการบริหารจัดการและการบังคับใช้กฎหมาย
7.44
4.28
3.53
ด้านสังคมและคุณภาพชีวิต
7.00
4.61
4.12
ด้านเศรษฐกิจ
6.34
3.98
3.78
ด้านการต่างประเทศ
6.00
5.04
3.90
คะแนนเฉลี่ย
6.90
4.49
3.82
 
 
             2. ระดับความชื่นชอบที่มีต่อโครงการหรือมาตรการต่างๆ ของ คสช. ในรอบ 3 เดือนที่ผ่านมา

โครงการหรือมาตรการ
ชอบมาก
(ร้อยละ)
ชอบน้อย
(ร้อยละ)
ไม่ชอบเลย
(ร้อยละ)
ไม่แน่ใจ
(ร้อยละ)
การปราบปรามยาเสพติด และอาวุธสงคราม
92.4
6.0
0.6
1.0
การปราบปรามการค้ามนุษย์
88.6
9.7
0.6
1.1
การจ่ายเงินคืนโครงการรับจำนำข้าวให้ชาวนา
85.2
11.6
1.3
1.9
การจัดระเบียบแรงงานต่างด้าว
84.7
12.2
1.3
1.8
การจัดระเบียบรถตู้ มอร์เตอร์ไซด์รับจ้าง
84.2
12.3
0.6
2.9
จัดระเบียบการจราจร นโยบาย 5 จอม / ล็อกล้อ
79.5
16.9
1.7
1.9
การอนุมัติรถไฟรางคู่ รถไฟฟ้า ขยายสนามบิน
ท่าเทียบเรือ
67.9
21.9
2.5
7.7
การตรึงราคาสินค้าอุปโภคบริโภค 6 เดือน
64.7
27.6
4.1
3.6
การขึ้นเงินเดือนข้าราชการ
62.1
27.7
4.5
5.7
การดูแลเรื่องการขายลอตเตอรี่เกินราคา
56.4
29.9
8.3
5.4
 
 
รายละเอียดในการสำรวจ
วัตถุประสงค์ในการสำรวจ:
                  เพื่อประเมินผลงานในด้านต่างๆ ของ คสช. และนโยบาย/มาตรการ ของคสช. ที่ประชาชนชื่นชอบ เพื่อสะท้อน
มุมมองความคิดเห็นของประชาชนให้สังคมและผู้ที่เกี่ยวข้องได้รับทราบ และนำไปใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาประเทศต่อไป
 
ประชากรที่สนใจศึกษา:
                  การสำรวจใช้การสุ่มตัวอย่างจากประชาชนทุกภูมิภาคทั่วประเทศ ที่มีอายุ 18 ปี ขึ้นไป โดยการสุ่มสัมภาษณ์
ทางโทรศัพท์จากฐานข้อมูลของกรุงเทพโพลล์ ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบ Simple Random Sampling แล้วใช้วิธีการ
ถ่วงน้ำหนัก ด้วยข้อมูลประชากรศาสตร์จากฐานข้อมูลทะเบียนราษฎร์ของกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย
 
ความคลาดเคลื่อน (Margin of Error):
                  ในการประมาณการขนาดตัวอย่างมีขอบเขตของความคลาดเคลื่อน  3% ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
 
วิธีเก็บรวบรวมข้อมูล:
                  ใช้การสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ โดยเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถามที่มีโครงสร้างแน่นอน
ประกอบด้วยข้อคำถามแบบเลือกตอบ (Check List Nominal) และได้นำแบบสอบถามทุกชุดมาตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์
ก่อนบันทึกข้อมูลและประมวลผล
 
ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล:  : 19 - 20 สิงหาคม 2557
 
วันที่เผยแพร่ผลสำรวจ: 23 สิงหาคม 2557
 
สรุปข้อมูลพื้นฐานของกลุ่มตัวอย่าง:
ตารางข้อมูลประชากรศาสตร์
 
จำนวน
ร้อยละ
เพศ:
   
             ชาย
637
50.6
             หญิง
622
49.4
รวม
1,259
100.0
อายุ:
 
 
             18 – 30 ปี
204
16.2
             31 – 40 ปี
324
25.7
             41 – 50 ปี
328
26.1
             51 – 60 ปี
278
22.1
             61 ปีขึ้นไป
125
9.9
รวม
1,259
100.0
การศึกษา:
 
 
             ต่ำกว่าปริญญาตรี
783
62.2
             ปริญญาตรี
384
30.5
             สูงกว่าปริญญาตรี
92
7.3
รวม
1,259
100.0
อาชีพ:
   
             ลูกจ้างรัฐบาล
196
15.6
             ลูกจ้างเอกชน
335
26.6
             ค้าขาย/ ทำงานส่วนตัว/ เกษตรกร
461
36.6
             เจ้าของกิจการ/ นายจ้าง
67
5.3
             ทำงานให้ครอบครัว
1
0.1
             พ่อบ้าน / แม่บ้าน / เกษียณอายุ
156
12.4
             นักเรียน/ นักศึกษา
30
2.4
             ว่างงาน/ รอฤดูกาล/ รวมกลุ่ม
13
1.0
รวม
1,259
100.0
 
ติดตามกรุงเทพโพลล์ผ่าน twitter ได้ที่  twitter bangkokpoll
Download PDF file:  
 
ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์)    โทร. 0-2350-3500 ต่อ 1770-1776